จำนวนผู้เยี่ยมชม
บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ (ด้านประชากร) แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รองจากจังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานีตามลำดับ ตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าไปสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนไปเข้าภาคเหนือที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทั้งทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์
- ตราประจำจังหวัด: เป็นรูปพระธาตุตั้งอยู่บนตอมะขาม ขนาบสองข้างด้วยต้นไม้
- ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกราชพฤกษ์ หรือ ดอกคูน (Cassia fistula)
- คำขวัญประจำจังหวัด: พระธาตุขามแก่น เสียงแคนดอกคูน ศูนย์รวมผ้าไหม ร่วมใจผูกเสี่ยว เที่ยวขอนแก่นนครใหญ่ ไดโนเสาร์สิรินธรเน่ สุดเท่เหรียญทองมวยโอลิมปิก
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น พิพิภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติส่วนภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ โบราณวัตถุและ ศิลปะวัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่ได้มาจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภายในเขตศิลปากรที่ 7 อีกส่วนหนึ่งเป็นศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่แบ่งมาจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครการจัดแสดงในพิพิธ ภัณฑ-สถานแห่งชาติขอนแก่น มีวัตถุประสงค์จะช่วยให้ผู้เข้าชมได้ทราบเรื่องราวก่อนประวัติศา-สตร์ในดิน แดนอีสาน ศิลปะ วัฒนธรรมสมัยทวาราวดีและลพบุรี ซึ่งปรากฏมีเมืองโบราณอยู่ และได้ทราบเรื่องราว ประวัติศาสตร์ สมัยต่าง ๆ ของประเทศไทยโดยทั่วไปด้วย ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เปิดให้ เข้าชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 12.00 น.และ 13.00-16.00 น. (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เสียค่าเข้า ชมคนละ 5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท) ปิดใน วันจันทร์-อังคารและวันหยุดราชการอื่น ๆ ติดต่อขอราย ละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. (043)236741
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง
ประวัติความเป็นมา ฟอสซิ ลไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทยพบที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในปี 2519 โดยนายสุธรรม แย้มนิยม อดีตนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ขณะสำรวจแร่ยูเรเนียม ในหมวดหินเสาขัว ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง บริเวณห้วยประตูตีหมา กระดูกชิ้นนี้มีความกว้างยาวประมาณ 1 ฟุต จากการเปรียบเทียบพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งมีขนาดใหญ่ยาวประมาณ 15 เมตร และจากการตรวจสอบพบว่าเป็นส่วนปลายล่างสุดของกระดูกต้นขาของไดโนเสาร์จำพวก กินพืช การสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี 2524 โดยนายเชิงชาย ไกรคง นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี ได้พาคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย และฝรั่งเศสขึ้นไปสำรวจกระดูกไดโนเสาร์บริเวณยอดห้วยประตูตีหมา อำเภอภูเวียงคณะสำรวจพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชขนาดใหญ่ รวมทั้งฟันจระเข้ กระดองเต่า ฟันและเกล็ดปลาโบราณ และจากการสำรวจในเวลาต่อมาได้พบกระดูกไดโนเสาร์อีกหลายชนิด ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงจัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ สำหรับให้การศึกษาแก่เยาวชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น
สถานที่ตั้ง
ศูนย์ ศึกษาวิจัยแลพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร การเข้าถึงพื้นที่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ซึ่งเป็นถนนสายยาว ติดต่อจากจังหวัดตากทางด้านทิศตะวันตกผ่านจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก อำเภอหล่มสัก อำเภอชุมแพไปสิ้นสุดที่จังหวัดขอนแก่น โดยหากเริ่มจากจังหวัดขอนแก่นให้ใช้เส้นทางไปชุมแพ และแยกขวาเข้าอำเภอภูเวียง ตามเส้นทางหลวงสาย 2038 ซึ่งปากทางเข้าอยู่เลยอำเภอหนองเรือไปเล็กน้อย หรือหากเริ่มต้นจากอำเภอชุมแพให้ไปทางขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหลวง สาย 2038 เช่นเดียวกัน เมื่อเลยอำเภอภูเวียงเล็กน้อยให้ใช้เส้นทางตรงไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ศูนย์ศึกษาวิจัยฯ ก่อนถึงอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร การ
ให้บริการ
เปิด ให้บริการทุกวัน (ปิดวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 8.30-17.00 น. โทร. (043) 438204-6 ประชาชนสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ภายในอาคารส่วนหนึ่งจัดแสดงเรื่องราวของการขุดค้นพบไดโนเสาร์ ที่จังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียง เพื่อเผยแพร่ผลงานของกรมทรัพยากรธรณีให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก กำเนิดหิน แร่ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และสิ่งสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ และทางธรรมชาติของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ความรู้กับเยาวชน และผู้ที่สนใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)