จำนวนผู้เยี่ยมชม

บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

จังหวัดขอนแก่น

จังหวัดขอนแก่น






          จังหวัดขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ (ด้านประชากร) แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย รองจากจังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานีตามลำดับ ตั้งอยู่ในจุดที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าไปสู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง จากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนไปเข้าภาคเหนือที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทั้งทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตกของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น






         พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น พิพิภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติส่วนภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ โบราณวัตถุและ ศิลปะวัตถุที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ส่วนใหญ่ได้มาจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภายในเขตศิลปากรที่ 7 อีกส่วนหนึ่งเป็นศิลปวัตถุสมัยต่าง ๆ ที่แบ่งมาจาก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครการจัดแสดงในพิพิธ ภัณฑ-สถานแห่งชาติขอนแก่น มีวัตถุประสงค์จะช่วยให้ผู้เข้าชมได้ทราบเรื่องราวก่อนประวัติศา-สตร์ในดิน แดนอีสาน ศิลปะ วัฒนธรรมสมัยทวาราวดีและลพบุรี ซึ่งปรากฏมีเมืองโบราณอยู่ และได้ทราบเรื่องราว ประวัติศาสตร์ สมัยต่าง ๆ ของประเทศไทยโดยทั่วไปด้วย ทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติขอนแก่น เปิดให้ เข้าชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 12.00 น.และ 13.00-16.00 น. (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เสียค่าเข้า ชมคนละ 5 บาท ชาวต่างประเทศ 10 บาท) ปิดใน วันจันทร์-อังคารและวันหยุดราชการอื่น ๆ ติดต่อขอราย ละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. (043)236741

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง

พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง






ประวัติความเป็นมา          ฟอสซิ ลไดโนเสาร์ชิ้นแรกของไทยพบที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ในปี 2519 โดยนายสุธรรม แย้มนิยม อดีตนักธรณีวิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ขณะสำรวจแร่ยูเรเนียม ในหมวดหินเสาขัว ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง บริเวณห้วยประตูตีหมา กระดูกชิ้นนี้มีความกว้างยาวประมาณ 1 ฟุต จากการเปรียบเทียบพบว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับไดโนเสาร์ซอโรพอด ซึ่งมีขนาดใหญ่ยาวประมาณ 15 เมตร และจากการตรวจสอบพบว่าเป็นส่วนปลายล่างสุดของกระดูกต้นขาของไดโนเสาร์จำพวก กินพืช การสำรวจไดโนเสาร์ที่ภูเวียงได้เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี 2524 โดยนายเชิงชาย ไกรคง นักธรณีวิทยาจากกรมทรัพยากรธรณี ได้พาคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย และฝรั่งเศสขึ้นไปสำรวจกระดูกไดโนเสาร์บริเวณยอดห้วยประตูตีหมา อำเภอภูเวียงคณะสำรวจพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดกินพืชขนาดใหญ่ รวมทั้งฟันจระเข้ กระดองเต่า ฟันและเกล็ดปลาโบราณ และจากการสำรวจในเวลาต่อมาได้พบกระดูกไดโนเสาร์อีกหลายชนิด ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียงจัดตั้งขึ้น โดยความร่วมมือของกรมทรัพยากรธรณี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และจังหวัดขอนแก่น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ สำหรับให้การศึกษาแก่เยาวชน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดขอนแก่น 
สถานที่ตั้ง
          ศูนย์ ศึกษาวิจัยแลพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง ตั้งอยู่ใกล้อุทยานแห่งชาติภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดขอนแก่นไปทางทิศตะวันตกเป็นระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร การเข้าถึงพื้นที่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 12 ซึ่งเป็นถนนสายยาว ติดต่อจากจังหวัดตากทางด้านทิศตะวันตกผ่านจังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก อำเภอหล่มสัก อำเภอชุมแพไปสิ้นสุดที่จังหวัดขอนแก่น โดยหากเริ่มจากจังหวัดขอนแก่นให้ใช้เส้นทางไปชุมแพ และแยกขวาเข้าอำเภอภูเวียง ตามเส้นทางหลวงสาย 2038 ซึ่งปากทางเข้าอยู่เลยอำเภอหนองเรือไปเล็กน้อย หรือหากเริ่มต้นจากอำเภอชุมแพให้ไปทางขอนแก่นแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหลวง สาย 2038 เช่นเดียวกัน เมื่อเลยอำเภอภูเวียงเล็กน้อยให้ใช้เส้นทางตรงไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ศูนย์ศึกษาวิจัยฯ ก่อนถึงอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร การ
ให้บริการ
          เปิด ให้บริการทุกวัน (ปิดวันจันทร์ ยกเว้นวันจันทร์ที่ตรงกับวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 8.30-17.00 น. โทร. (043) 438204-6 ประชาชนสามารถเข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ภายในอาคารส่วนหนึ่งจัดแสดงเรื่องราวของการขุดค้นพบไดโนเสาร์ ที่จังหวัดขอนแก่นและใกล้เคียง เพื่อเผยแพร่ผลงานของกรมทรัพยากรธรณีให้กับนักท่องเที่ยว ส่วนที่เหลือจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการกำเนิดโลก กำเนิดหิน แร่ วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และสิ่งสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ และทางธรรมชาติของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้ความรู้กับเยาวชน และผู้ที่สนใจ

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

หมู่บ้านงูจงอาง

หมู่บ้านงูจงอาง






           บ้านโคกสง่า ต.ทรายมูล ชาวบ้านโคกสง่าแต่เดิมมีอาชีพขายยาสมุนไพรควบคู่กับ การทำนามาแต่รุ่นปู่ย่าตายาย การขายยาสมุนไพรในสมัยก่อนต้องเดินเท้าไปเร่ขายยาตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อปีพ.ศ. 2494 พ่อใหญ่เคน ยงลา หมอยาบ้านโคกสง่าจึงได้คิดหางูเห่า มาแสดง เพื่อเป็นการดึงดูดคนมาดู แทนที่จะต้องเดินไปขายยาในทุกๆหมู่บ้านเช่นเคย ปรากฏว่า การแสดงประสบความสำเร็จสามารถเรียกคนมาดูได้มากพอสมควร แต่เนื่องจากงูเห่านั้นมีอันตราย มากสามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 2 เมตรพ่อใหญ่จึงเปลี่ยนมาใช้งูจงอางแสดงแทนและถ่ายทอดวิชาแสดงงูให้คนในหมู่บ้าน เมื่อว่าง เว้นจากการเกษตรชาวบ้านจะรวมกลุ่มเดินทาง ออกเร่แสดงงู เพื่อขายยาสมุนไพร ส่วนการแสดงที่หมู่บ้าน นั้นจะจัดขึ้นบริเวณลานวัดศรีธรรมา และรอบๆบริเวณ ก็จะมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงูจงอาง รวมทั้งมี โรงเรือนเพาะเลี้ยงงูจงอางอยู่ด้วย
        ปัจจุบันการแสดงงูจงอางบ้านโคกสง่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาก ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือน จะเลี้ยงงูจงอางไว้ใต้ถุนบ้าน มีการจัดแสดงหลายรูปแบบเพื่อดึงดูดให้คนสนใจยิ่งขึ้น เช่นการแสดง ละครงูตาม จังหวะเพลง การชกมวยระหว่างคนกับงูจงอางจนชาวบ้านที่มีชื่อเสียงทางการแสดงงู มีฉายาประจำ เช่น กระหร่องน้อย เมืองอีสาน, ทองคำ ลูกทองชัย ฯลฯ
        บ้านโคกสง่าอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทาง 49 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 33 เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางไปอำเภอกระนวน ตามทางหลวงหมายเลข 2039 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 เมื่อสังเกตเห็นป้อมยามตำรวจพังทุยทางด้านซ้าย ให้เลี้ยวขวาไปตามถนน ลูกรังผ่านบ้านนางาม วัดสระแก้ว เมื่อถึงสี่แยกที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านแล้วเลี้ยวซ้าย ไปประมาณ 600 เมตร จะถึงประตูทางเข้าหมู่บ้าน

วัดป่าแสงอรุณ

วัดป่าแสงอรุณ






        ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าแสงอรุณ ตำบลพระลับ ห่างจากศาลากลางจังหวัดขอนแก่นประมาณ 3 กิโลเมตร ตามเส้นทางขอนแก่น-กาฬสินธุ์
       สิมอีสาน ได้เน้นถึงรูปแบบ ทรวดทรง ความมั่นคงสามารถคุ้มแดดคุ้มฝน ตลอดจนความวิจิตร งดงามของภาพเขียนฝาผนัง ลายผ้าไหมมัดหมี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่น เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น อันเป็นการปลูกฝังแนวความคิดสร้างสรรค์ที่ดีต่อไป อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดขอนแก่นตลอดไป

ปราสาทเปือยน้อย

ปราสาทเปือยน้อย






        ปราสาทเปือยน้อย หรือ พระธาตุกู่ทอง ถึงแม้จะเป็นปราสาทหินที่มีขนาดไม่ใหญ่ เท่ากับปราสาทหินพิมาย หรืออีกหลายแห่งที่พบทางอีสานตอนใต้ แต่ก็นับเป็นปราสาทเขมร ที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง  ปราสาทเปือยน้อย หรือ ชาวบ้านเรียกว่า พระธาตุกู่ทอง สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๗ เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะเขมร แบบบาปวน และแบบนครวัด สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู แผนผังการก่อสร้างมีความหมาย เป็นเขาพระสุเมรุ ซึ่งถือเป็นแกนจักรวาล อันเป็นที่สถิตย์ของเทพเจ้าที่เรียกว่า “ศาสนบรรพต”
        สิ่งก่อสร้างภายในบริเวณปราสาท เป็นไปตามแบบแผนของศาสนสถานขอมโบราณ หน้าบันขององค์ปรางค์ประธานสลักเป็นพระยานาคราชมีลวดลายสวยงามมาก ทับหลังสลักเป็นรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ที่นับว่ายังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ "โคปุระ" (ซุ้มประตู) อยู่ทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ด้านข้างโคปุระเจาะเป็นช่องหน้าต่าง "กำแพงแก้ว" มีฐานเป็นบัวคว่ำบัวหงาย มีการสลักศิลาแลงเป็นร่องแบบลาดบัว
        การเดินทาง  จากขอนแก่นใช้ทางหลวงหมายเลข ๒ (ขอนแก่น-บ้านไผ่) ระยะทาง ๔๔ กิโลเมตร เข้าทางหลวงหมายเลข ๒๓ (บ้านไผ่-บรบือ) ไปอีกประมาณ ๑๑ กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าสู่อำเภอเปือยน้อยอีก ๒๔ กิโลเมตร

น้ำตกตาดฟ้า

น้ำตกตาดฟ้า






         เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยตาดฟ้า รอยต่อของอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น กับอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ความสูงราว 30 เมตร ในฤดูฝน้ำจะไหลแรง มีสายน้ำที่ตกลดหลั่นเป็นม่านที่งดงาม ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมีทางรถยนต์เข้าถึงแล้ว

อุทยานแห่งชาติภูเวียง

อุทยานแห่งชาติภูเวียง



        เมื่อ พูดถึงอุทยานแห่งชาติภูเวียงนักท่องเที่ยวก็ต้องนึกถึงไดโนเสาร์ ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าบริเวณที่ราบสูงที่อยู่ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน นั้นจะเคยเป็นบ้านของไดโนเสาร์มาก่อนจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2519 มีการสำรวจแหล่งแร่ยูเรเนียมในบริเวณอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างการสำรวจนักธรณีวิทยาได้ค้นพบซากกระดูกชิ้นหนึ่งเข้า และเมื่อส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศสวิจัยผลปรากฏออกมาว่าเป็นกระดูกหัว เข่าข้างซ้ายของไดโนเสาร์ จากนั้นนักสำรวจก็ได้ทำการขุดค้นกันอย่างจริงจังเรื่อยมากระทั่งปัจจุบัน
        บนยอดภูประตูตีหมา หลุมขุดค้นที่ 1 ได้พบฟอสซิลไดโนเสาร์พันธุ์หนึ่ง มีลำตัวสูงใหญ่ประมาณ 15 เมตร คอยาว หางยาว เป็นพันธุ์กินพืชซึ่งไม่เคยพบที่ใดมาก่อน จึงได้อัญเชิญพระนามของสมเด็จพระเทพฯมาตั้งชื่อไดโนเสาร์พันธุ์นี้เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติว่า "ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่" (Phuwianggosaurus Sirindhornae) และในบริเวณหลุมขุดค้นเดียวกันนั้นเอง นักสำรวจได้พบฟันของไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อปะปนอยู่มากกว่า 10 ซี่ ทำให้สันนิษฐานได้ว่าโซโรพอดตัวนี้อาจเป็นอาหารของเจ้าของฟันเหล่านี้ แต่ในกลุ่มฟันเหล่านั้นมีอยู่หนึ่งซี่ที่มีลักษณะแตกต่างออกไป เมื่อนำไปศึกษาปรากฏว่าฟันชิ้นนี้เป็นลักษณะฟันไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยค้นพบมาก่อนเช่นกัน จึงตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ นายวราวุธ สุธีธร ว่า "ไซแอมโมซอรัส สุธีธรนี่" (Siamosaurus Suteethorni) ผู้สนใจสามารถเดินไปชมได้ หลุมขุดค้นที่ 1 นั้นอยู่ไม่ไกลจากที่ทำการอุทยาน และยังสามารถเดินไปชมหลุมขุดค้นที่ 2 และ 3 ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงด้วย
ฟอสซิลของ "ไซแอมโมไทรันนัส อีสานเอ็นซิส" (Siamotyrannus Isanensis) เป็นสิ่งที่ชี้ว่าไดโนเสาร์จำพวกไทรันโนซอร์มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพราะฟอสซิลที่พบที่นี่เป็นชิ้นที่เก่าแก่ที่สุด (120-130 ล้านปี) แต่กระดูกชิ้นนี้ได้นำไปจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในกรมทรัพยากรธรณี กรุงเทพฯ
       บริเวณหินลาดป่าชาด หลุมขุดค้นที่ 8 พบรอยเท้าไดโนเสาร์จำนวน 68 รอย อายุประมาณ 140 ล้านปี เกือบทั้งหมดเป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเ นื้อพันธุ์เล็กที่สุดในโลกเดิน 2 เท้า แต่หนึ่งในรอยเท้าเหล่านั้นมีขนาดใหญ่ผิดจากรอยอื่น คาดว่าเป็นของคาร์โนซอรัส การไปชมควรเดินทางด้วยรถขับเคลื่อน 4 ล้อใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ห่างจากที่ทำการ 19 กิโลเมตร
ส่วนฟอสซิลดึกดำบรรพ์อื่นๆที่ขุดพบ เช่น ซากลูกไดโนเสาร์ ซากจระเข้ขนาดเล็ก ซากหอย 150 ล้านปี จะอยู่กระจัดกระจายกันตามหลุมต่างๆ
ความน่าสนใจของที่นี่ไม่ได้มีแต่เพียงไดโนเสาร์เท่านั้น ยังมีการพบร่องรอยอารยธรรมโบราณด้วย โดยพบ “พระพุทธรูปปางไสยาสน์” ประติมากรรมนูนสูงสลักบนหน้าผาของยอดเขาภูเวียง สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะท่านอนได้รับอิทธิพลจากอินเดีย พระเศียรหนุนแนบกับต้นแขนขวา แขนซ้ายทอดไปตามลำพระองค์ นอกจากนี้ “ถ้ำฝ่ามือแดง” ที่บ้านหินร่องมีงานศิลปะของมนุษย์ถ้ำโบราณ ลักษณะของภาพเกิดจากการพ่นสีแแดงลงไปในขณะที่มือทาบกับผนังถ้ำก่อให้เกิดเป็นรูปฝ่ามือขึ้น
ส่วนแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ในบริเวณอุทยานฯจะมีน้ำตกอยู่สองสามแห่ง “น้ำตกทับพญาเสือ” เป็นน้ำตกเล็กๆ ตั้งอยู่ใกล้กับถ้ำฝ่ามือแดง “น้ำตกตาดฟ้า” เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร สามารถเข้าถึงได้ทางรถยนต์ อยู่ห่างจากอำเภอภูเวียง 18 กิโลเมตรและขึ้นเขาไปอีก 6 กิโลเมตร ตรงต่อไปจากน้ำตกตาดฟ้าอีก 5 กิโลเมตร จะถึง “น้ำตกตาดกลาง” สูงประมาณ 8 กม. นอกจากน้ำตกก็ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภททุ่งหญ้าและลานหิน ซึ่งจะมีดอกไม้ป่านานาพันธุ์บานในช่วงหลังฤดูฝน ได้แก่ “ทุ่งใหญ่เสาอาราม” “หินลาดวัวถ้ำกวาง” และ “หินลาดอ่างกบ”
       พื้นที่อุทยานฯครอบคลุมอำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู และอำเภอชุมแพ มีพื้นที่ 380 ตารางกิโลเมตร
       การเดินทาง จากตัวเมืองขอนแก่นใช้เส้นทางขอนแก่น-ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) เป็นระยะทาง 48 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร ถึงอำเภอภูเวียง แล้วใช้เส้นทางภูเวียง-บ้านเมืองใหม่ ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 23 จะเป็นบริเวณที่เรียกว่า“ปากช่องภูเวียง” ซึ่งมีหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติภูเวียงตั้งอยู่ เดินทางต่อไปจนถึงกิโลเมตรที่ 30 เลี้ยวซ้ายตรงทางเข้าอ่างเก็บน้ำบ้านโพธิ์ เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเวียงที่ “ภูประตูตีหมา” ภายในอาคารมีการจัดแสดงนิทรรศการและซากกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์ที่ขุดพบบริเวณภูเวียง โดยมีคำอธิบายลักษณะและการเกิดซากต่างๆ เหล่านี้

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน

อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน






          ที่ตั้งและแผนที่ต.นาหนองทุ่ม อ. ชุมแพ จ. ขอนแก่น 40290
          อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ป่าดงลาน ท้องที่ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ตำบลห้วยม่วง ตำบลวังสวาบ ตำบลนาฝาย ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือย ท้องที่ตำบลภูกระดึง ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 218,750 ไร่ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 16◦ 38' 48 " ถึง 16◦ 50' 56" เหนือ และอยู่ระหว่างเส้นแวงที่ 101◦ 42 '14" ถึง 102◦ 1' 20" ตะวันออก
         ทิศเหนือ : จดตำบลวังกวาง อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ ตำบลศรีฐาน ตำบลผานกเค้า ตำบลภูกระดึง อำเภอกระดึง จังหวัดเลย
         ทิศใต้ : จดตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ ตำบลห้วยม่วง ตำบลนาฝาย ตำบลภูผาม่าน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
         ทิศตะวันออก : จดตำบลภูหาน อำเภอสีชมพู และตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
         ทิศตะวันตก : จดแนวเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
         อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน เรียกตามชื่อของภูเขาเทือกหนึ่งทางตอนใต้ของอุทยานแห่งชาติที่มีหน้าผาสูง ชันคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มองดูเหมือนกับผ้าม่านผืนใหญ่ อยู่ในท้องที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย มีเนื้อที่ประมาณ 350 ตารางกิโลเมตร หรือ 218,750 ไร่
         อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน แต่เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่สมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันผลจากการทำสัมปทานป่าไม้ทำให้พื้นป่าและจำนวนสัตว์ป่าลดลงอย่างรวด เร็ว กรมป่าไม้จึงได้มีคำสั่งที่ 1473/2532 ลงวันที่ 27 กันยายน 2532 มอบหมายให้ นายพนม พงษ์สุวรรณ นักวิชาการป่าไม้ 4 ให้สำรวจเพิ่มเติมและจัดตั้งพื้นที่ป่าดงลาน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือย อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และพื้นที่ป่าใกล้เคียงเป็นอุทยานแห่งชาติ จากการสำรวจพื้นที่พบว่า เป็นพื้นที่แหล่งต้นน้ำลำธารและมีจุดเด่นทางธรรมชาติหลายแห่ง โดยเฉพาะถ้ำและน้ำตก
        ทางราชการจึงมีประกาศกฤษฎีกา กำหนดให้รวมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติภูเปือย อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เข้ากับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติดงลาน ท้องที่อำเภอชุมแพ กิ่งอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ในปี พ.ศ.2534 โดยได้พระราชกฤษฏีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าดงลานในท้องที่ตำบลนาหนองทุ่ม อำเภอชุมแพ และตำบลห้วยม่วง ตำบลวังสวาบ ตำบลนาฝาย ตำบลภูผาม่าน กิ่งอำเภอภูผาม่าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และป่าภูเปือยในท้องที่ตำบลภูกระดึง ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เนื้อที่โดยประมาณ 218,750 ไร่ หรือ 350 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 215 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2534 จัดเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 72 ของประเทศ

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ

อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ



          อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 50 เมื่อ พ.ศ. 2528 ครอบคลุมพื้นที่ 322 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภออุบลรัตน์ และอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู บริเวณอุทยานฯ เป็นเทือกเขาหินทราย 2 แห่งที่อยู่ห่างกัน ผืนป่าส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ที่เหลือเป็นป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง  โดยมีที่ทำการอุทยานฯอยู่ที่ริมทะเลสาบเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ ซึ่งอยู่ในบริเวณภูพานคำ
           ภูพานคำ เป็นทิวเขาด้านตะวันออกของลุ่มน้ำพอง และเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน ตอนบนมีจุดชมวิวช่องเขาขาดสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามของทะเลสาบเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณทะเลสาบท้ายเขื่อนอุบลรัตน์ ภูพานคำนี้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งตกปลาที่มีชื่อเสียงของ จังหวัด  นักท่องเที่ยวมักจะกางเต็นท์พักแรม หรือ พักที่บ้านพักของอุทยานฯ หรือ ที่ศาลาพักแรมของกรมประชาสงเคราะห์
            ภูเก้า เป็นเทือกเขาหินทรายสลับซับซ้อน คล้ายกระทะหงาย ประกอบด้วยภูเขา 9 ลูก คือ ภูฝาง ภูขุมปูน ภูหัน ภูเมย ภูค้อหม้อ ภูชั้น ภูเพราะ ภูลวก และภูวัด ภูทั้ง 9 ลูกนี้มีความสลับซับซ้อนมาก ประกอบด้วยป่าไม้ สัตว์ป่านานาชนิด บนภูเก้ามีสถานที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งได้แก่
รอยเท้านายพราน และรอยตีนหมา เป็นรอยเท้าขนาดใหญ่ 2 รอย ลักษณะคล้ายรูปเท้ามนุษย์และสุนัขขนาดใหญ่สลักบนหิน อันเกี่ยวโยงกับนิทานพื้นบ้านเรื่อง “พระสุพรหมวิโมขา กับหมาเก้าหาง”
ถ้ำเสือตก ถ้ำพลาไฮ ถ้ำเจ็ก เป็นแหล่งโบราณคดีที่น่าสนใจ   มีการสำรวจพบภาพเขียนสีและภาพสลักบนผนังถ้ำ อายุไม่ต่ำกว่า 3,500 ปี
เสาหินหามต่าง เป็นลานหินที่มีก้อนหินรูปทรงต่าง ๆ ที่โดดเด่นคือ หินก้อนใหญ่ที่วางอยู่ซ้อนกันคล้ายกับดอกเห็ดเป็นประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม
หอสวรรค์ เป็นจุดชมทิวทัศน์ มีก้อนหินขนาดใหญ่  ตั้งอยู่ริมหน้าผาสูง 30 เมตร มีบันไดให้ปีนขึ้นไปบนก้อนหินซึ่งมีศาลาตั้งอยู่      น้ำตกตาดฟ้า เป็นน้ำตกขนาดเล็ก ไหลมาตามลำธารท่ามกลางป่าเบญจพรรณ ก่อนจะทิ้งตัวลงมาตามชั้นหินสูง 7 เมตร ลงแอ่งน้ำใหญ่เบื้องล่าง
ภายในอุทยานฯ มีกิจกรรมพายเรือชมทิวทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ และมีบ้านพักบริการ 3 หลัง  สอบถามรายละเอียดได้ที่ อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ โทร. 08 1221 0526 หรือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  โทร. 0 2562 0760 หรือ www.dnp.go.th
การเดินทาง ไปยังอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ สามารถเดินทางไปได้ 2 ทาง คือ
  • เส้นทางที่ 1 ตามเส้นทางขอนแก่น-เขื่อนอุบลรัตน์ ทางหลวงหมายเลข 2109 ถึงอำเภออุบลรัตน์  เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2146 (อุบลรัตน์-โนนสัง) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ รวมระยะทาง 63 กิโลเมตร
  • เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองหนองบัวลำภูตามทางหลวงหมายเลข 2146 หนองบัวลำภู-โนนสัง ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านโสกจาน จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางสายบ้านโสกจาน-เขื่อนอุบลรัตน์ ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ถึงที่ทำการการอุทยานฯ รวมระยะทาง 57 กิโลเมตร

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง

อุทยานแห่งชาติน้ำพอง



ข้อมูลทั่วไป
       อุทยาน แห่งชาติน้ำพอง เป็นชื่อเรียกตามต้นกำเนิดลำน้ำพองที่ไหลมารวมกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบล รัตน์ (เดิมชื่ออ่างเก็บน้ำน้ำพอง) เป็นอุทยานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตามข้อเสนอของจังหวัดขอนแก่น แต่เดิมมีชื่อเรียกว่า “น้ำพอง-ภูเม็ง” เพราะมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเทือกเขาภูเม็ง อุทยานแห่งชาติน้ำพองตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดขอนแก่นติดกับเขื่อน อุบลรัตน์ ครอบคลุมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าโสกแต้ ป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม ป่าภูผาดำ ป่าภูผาแดง ในเขตอำเภออุบลรัตน์ อำเภอบ้านฝาง อำเภอหนองเรือ อำเภอมัญจาคีรี และ กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น รวมทั้งพื้นที่บางส่วนของ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ มีเนื้อที่ประมาณ 197 ตารางกิโลเมตร หรือ 123,125 ไร่
       จังหวัด ขอนแก่น ได้มีหนังสือลงวันที่ 30 มีนาคม 2538 ขอให้กรมป่าไม้พิจารณากำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าภูเม็ง ป่าโคกหลวง ป่าโคกหลวงแปลงที่สาม ในท้องที่จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าอนุรักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 และ 17 มีนาคม 2535 เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีทิวทัศน์และจุดเด่นที่สวยงาม โดยจังหวัดขอนแก่นได้แต่งตั้งคณะกรรมการทำการสำรวจปรับปรุงแนวเขตให้เป็นที่ ยอมรับของประชาชนในพื้นที่ทุกฝ่ายแล้ว ไม่มีปัญหาเรื่องแนวเขตและที่ทำกินของราษฎรในพื้นที่ป่าดังกล่าว
       กรม ป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าดังกล่าวปรากฏว่า พื้นที่ป่ายังมีความสมบูรณ์ หากพิจารณาตามความหมายของอุทยานแห่งชาติแล้วยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ แต่สมควรอนุรักษ์ไว้สำหรับประชาชนจังหวัดขอนแก่น โดยเห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ใกล้เคียงเพิ่มเติม ได้แก่ ป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ และป่าภูผาแดง จังหวัดชัยภูมิ และป่าโสกแต้ รวมพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นอุทยานแห่งชาติด้วย เนื่องจากยังมีสภาพป่าสมบูรณ์ มีจุดเด่นและจุดชมทิวทัศน์ที่น่าสนใจ
       อุทยานแห่งชาติน้ำพองได้มีพระ ราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าโสกแต้ในท้องที่ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลทุ่งโป่ง ตำบลโคกสูง อำเภออุบลรัตน์ ตำบลนาหว้า ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง ตำบลโคกงาม ตำบลป่าหวายนั่ง ตำบลบ้านฝาง อำเภอบ้านฝาง และตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ป่าภูเม็ง และป่าโคกหลวง ในท้องที่ตำบลบ้านเม็ง ตำบลยางคำ อำเภอหนองเรือ ตำบลคำแคน ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ตำบลป่ามะนาว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น และตำบลสระพัง ตำบลบ้านเต่า ตำบลหนองคู อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ และป่าโคกหลวง ป่าภูผาดำ ป่าภูผาแดง และป่าโคกหลวง แปลงที่สาม ในท้องที่ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี ตำบลบ้านโคก ตำบลซับสมบูรณ์ กิ่งอำเภอโคกโพธิ์ไชย อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น และตำบลหนองสังข์ ตำบลบ้านแก้ง ตำบลช่องสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 105ก ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2543
 
การเดินทาง
รถยนต์
       อุทยาน แห่งชาติน้ำพอง ตั้งอยู่บริเวณริมเขื่อนอุบลรัตน์ ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ใกล้กับตัวเมืองขอนแก่นมากที่สุด ปัจจุบันการคมนาคมเข้าถึงอุทยานแห่งชาติค่อนข้างสะดวกสบาย จึงเหมาะสำหรับการเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจทั้งในระยะสั้นเช้ามา-เย็นกลับ หรือค้างแรมโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวที่อากาศเย็นสบาย สำหรับการเดินทางมาอุทยานแห่งชาติน้ำพองสามารถเดินทางได้ 2 ทาง คือ
       •จาก ตัวเมืองขอนแก่นตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ไปอำเภอชุมแพ) ถึง กม.30 จะมีแยกขวาเข้าบ้านผือ เดินทางต่อไปอีกประมาณ 19 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนเชิงเขาด้านขวามือ รวมระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร
       • จากขอนแก่น-อำเภออุบลรัตน์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ไปจังหวัดอุดรธานี) แยกซ้ายเข้า อำเภออุบลรัตน์ ถึงตัวอำเภอจะมีแยกเลี้ยวซ้ายตามเส้นทาง รพช.สาย ขก.3034 (หนองแสง- ท่าเรือ) เดินทางเลาะริมเขื่อนอุบลรัตน์มาอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร
       ผู้ที่เดินทาง โดยใช้เส้นทางสายแรก (ขอนแก่น-ชุมแพ) สามารถเดินทาง ไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน ก่อนที่เดินทางย้อนกลับมาแวะชมไดโนสาร์ที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง หลังจากนั้นท่านเดินทางต่อมาพักผ่อนหย่อนกายชมวิวทิวทัศน์อันงดงามของอ่าง เก็บน้ำ หรืออาจเดินทางขึ้นไปนอนชมฝนดาวดูฟ้าสางที่จุดชมวิวหินช้างสีของอุทยานแห่ง ชาติน้ำพองก็จะได้รับบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป
       ในช่วงการเดิน ทางกลับควรใช้เส้นทางสายที่สอง (ขอนแก่น-อุบลรัตน์) ขับรถลัดเลาะชมธรรมชาติของเขื่อนอุบลรัตน์ หรือแวะทานอาหารชิมปลาน้ำจืดอันเลิศรสก็มีร้านอาหารตลอดเส้นทาง เขื่อนอุบลรัตน์ตั้งอยู่ห่างจากอุทยานแห่งชาติน้ำพองประมาณ 20 กิโลเมตร เสร็จจากชมเขื่อนฯ ขับรถไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางอำเภอโนนสัง ก็จะถึงอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ หากเดินทางจากขอนแก่น-อุบลรัตน์ หรือใช้เส้นทางสายที่สองก็สามารถท่องเที่ยวในลักษณะที่เป็นรูปวงกลมนี้ได้ อาจเริ่มที่อุทยานแห่งชาติภูเก้าภูพานคำ–เขื่อนอุบลรัตน์-น้ำพอง-ภูเวียง -ภูผาม่าน ก่อนที่จะเดินทางกลับทางด้าน อำเภอชุมแพ

พัทยา2 ขอนแก่น



พัทยา2 ขอนแก่น


          พัทยา 2 ตั้งอยู่ที่บ้านหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 78 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ราบริมทะเลสาบประมาณ 20 ไร่ ทะเลสาบมีอาณาเขตติดต่อกับเขื่อนอุบลรัตน์ โดยมีเทือกเขาภูพานคำทอดยาวเป็นฉากหลัง เหมาะแก่การพักผ่อน รับประทานอาหาร และเล่นน้ำในบรรยากาศคล้ายชายทะเล ในบริเวณมีร้านอาหารบริการอาหารพื้นเมือง ปลาเผา และมีอุปกรณ์เพื่อกิจกรรมทางน้ำไว้บริการ เช่น ห่วงยาง จักรยานน้ำ บาบาน่าโบ๊ต มักจะมีผู้คนท้องถิ่นมาพักผ่อนหย่อนใจกันมากในทุกวันหยุดสุดสัปดาห์

         การเดินทาง จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 12 ถึงแยกหนองเรือเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2038 ตรงไปประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านอำเภอภูเวียง ทางไปอุทยานแห่งชาติภูเวียง ระหว่างทางจะมีป้ายบอกทางเข้าไปยังพัทยา 2 ไปอีกประมาณ 23 กิโลเมตร

บางแสน2

บางแสน2

          บางแสน 2 และหาดจอมทอง ตั้งอยู่ที่บ้านหินเพิง ตำบลท่าเรือ อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปประมาณ 53 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปเขื่อนอุบลรัตน์ แต่อยู่ก่อนถึงเขื่อนอุบลรัตน์มีทางทางแยกไป บรรยากาศโดยรอบของชายหาดริมทะเลสาบน้ำจืดเหนือเขื่อนอุบลรัตน์ สวยสะดุดตาเมื่อพระอาทิตย์ฉายส่องลงมาในยามเย็นกระทบกับทิวเขาภูเก้าที่ตั้ง ตระหง่านอยู่ด้านหลัง กิจกรรมกีฬาทางน้ำที่น่าสนใจก็คือ การบริการให้เช่าจักรยานน้ำ, บานาน่า โบ๊ต, ห่วงยาง นอกจากนี้ยังมีบริการอาหารเลิศรสที่ปรุงจากปลาภายในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบล รัตน์ ได้แก่ ปลานิล, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาช่อน ฯลฯ ช่วงเทศกาลสำคัญ หรือ วันหยุด มักจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางไปชมธรรมชาติ และเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมาก

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วัดหนองแวง

วัดหนองแวง

         วัดหนองแวง ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นพระอารามหลวง  ภายในวัดมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และ มหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นรูปทรงแบบชาวอีสานตากแห
        วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลางและวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) ต่อมา พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา
วัดหนองแวงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2442 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เคยได้รับรางวัลเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 และเป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในปี พ.ศ.2527
ส่วนพระมหาธาตุแก่นนคร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2540

เขื่อนอุบลรัตน์

เขื่อนอุบลรัตน์

         เขื่อนอุบลรัตน์ หรือ ชาวเมืองเรียกกันว่า "เขื่อนพองหนีบ" สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรก ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้สร้างขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ที่ก่อสร้างเสร็จหลังเขื่อนภูมิพล
         ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนกลางเป็นดินเหนียว มีความยาว ๘๐๐ เมตร สูงจากพื้นท้องน้ำ ๓๒ เมตร ระดับสันเขื่อนอยู่ที่ ๑๘๕ เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง -รทก.) สันเขื่อนกว้าง ๖ เมตร ฐานเขื่อนกว้าง ๑๒๐ เมตร และที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด ๑๘๒ เมตร (รทก.) อ่างเก็บน้ำมีความจุทั้งหมด ๒,๕๕๙ ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละประมาณ ๑,๗๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ทางปีกขวาของตัวเขื่อนเป็นอาคารระบายน้ำล้น มีช่องระบายน้ำ ๔ ช่อง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถระบายน้ำสูงสุดได้ วินาทีละ ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรสำหรับอาคารโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่ทางปีกซ้าย ของตัวเขื่อน ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต ๘,๔๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๓ เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๒๕,๒๐๐ กิโลวัตต์
          เขื่อนอุบลรัตน์ เริ่มงานก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ และสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๙ต่อมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ได้ทำการปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ โดยเสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้นไปอีก ๓.๑๐ เมตร จากระดับเดิม ๑๘๕ เมตร (รทก.) เป็นที่ระดับ ๑๘๘.๑๐ เมตร (รทก.) ความกว้างสันเขื่อนเท่าเดิม ส่วนฐานเขื่อนด้านท้าย ขยายออกจากเดิม ซึ่งกว้าง ๑๒๐ เมตร เป็น ๑๒๕ เมตร ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๗ และปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยเมื่อต้นปี ๒๕๓๐
         ประโยชน์หลังจากการปรับปรุง เขื่อนอุบลรัตน์ จะทำให้เขื่อนมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอุทกภัยสูงขึ้น และยังเสริมความปลอดภัย ให้แก่ตัวเขื่อน ซึ่งจากการยกระดับ ของสันเขื่อน จะไม่มีผล ต่อระดับเก็บกักน้ำ ใช้เพื่อการชลประทาน และผลิตกระแสไฟฟ้าในระดับปกติ ทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัย บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระธาตุขามแก่น

พระธาตุขามแก่น



        พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ 500 ต่อมาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแพน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม พุทธศตวรรษที่ 5 พระยาหลังเขียว หรือโมริย กษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม