จำนวนผู้เยี่ยมชม

บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เขื่อนอุบลรัตน์

         เขื่อนอุบลรัตน์ หรือ ชาวเมืองเรียกกันว่า "เขื่อนพองหนีบ" สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรก ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้สร้างขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ที่ก่อสร้างเสร็จหลังเขื่อนภูมิพล
         ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนกลางเป็นดินเหนียว มีความยาว ๘๐๐ เมตร สูงจากพื้นท้องน้ำ ๓๒ เมตร ระดับสันเขื่อนอยู่ที่ ๑๘๕ เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง -รทก.) สันเขื่อนกว้าง ๖ เมตร ฐานเขื่อนกว้าง ๑๒๐ เมตร และที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด ๑๘๒ เมตร (รทก.) อ่างเก็บน้ำมีความจุทั้งหมด ๒,๕๕๙ ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละประมาณ ๑,๗๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ทางปีกขวาของตัวเขื่อนเป็นอาคารระบายน้ำล้น มีช่องระบายน้ำ ๔ ช่อง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถระบายน้ำสูงสุดได้ วินาทีละ ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรสำหรับอาคารโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่ทางปีกซ้าย ของตัวเขื่อน ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต ๘,๔๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๓ เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๒๕,๒๐๐ กิโลวัตต์
          เขื่อนอุบลรัตน์ เริ่มงานก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ และสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๙ต่อมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ได้ทำการปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ โดยเสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้นไปอีก ๓.๑๐ เมตร จากระดับเดิม ๑๘๕ เมตร (รทก.) เป็นที่ระดับ ๑๘๘.๑๐ เมตร (รทก.) ความกว้างสันเขื่อนเท่าเดิม ส่วนฐานเขื่อนด้านท้าย ขยายออกจากเดิม ซึ่งกว้าง ๑๒๐ เมตร เป็น ๑๒๕ เมตร ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๗ และปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยเมื่อต้นปี ๒๕๓๐
         ประโยชน์หลังจากการปรับปรุง เขื่อนอุบลรัตน์ จะทำให้เขื่อนมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอุทกภัยสูงขึ้น และยังเสริมความปลอดภัย ให้แก่ตัวเขื่อน ซึ่งจากการยกระดับ ของสันเขื่อน จะไม่มีผล ต่อระดับเก็บกักน้ำ ใช้เพื่อการชลประทาน และผลิตกระแสไฟฟ้าในระดับปกติ ทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัย บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น