จำนวนผู้เยี่ยมชม
บล๊อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
วัดหนองแวง
วัดหนองแวง ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นพระอารามหลวง ภายในวัดมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และ มหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นรูปทรงแบบชาวอีสานตากแห
วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลางและวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) ต่อมา พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา
วัดหนองแวงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2442 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เคยได้รับรางวัลเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 และเป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในปี พ.ศ.2527
ส่วนพระมหาธาตุแก่นนคร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2540
วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลางและวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) ต่อมา พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา
วัดหนองแวงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2442 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อ พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เคยได้รับรางวัลเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 และเป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ในปี พ.ศ.2527
ส่วนพระมหาธาตุแก่นนคร เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และสร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2540
เขื่อนอุบลรัตน์
เขื่อนอุบลรัตน์ หรือ ชาวเมืองเรียกกันว่า "เขื่อนพองหนีบ" สร้างปิดกั้นแม่น้ำพอง ที่อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เป็นเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรก ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้สร้างขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ที่ก่อสร้างเสร็จหลังเขื่อนภูมิพล
ตัวเขื่อนเป็นเขื่อนหินถมแกนกลางเป็นดินเหนียว มีความยาว ๘๐๐ เมตร สูงจากพื้นท้องน้ำ ๓๒ เมตร ระดับสันเขื่อนอยู่ที่ ๑๘๕ เมตร (ระดับน้ำทะเลปานกลาง -รทก.) สันเขื่อนกว้าง ๖ เมตร ฐานเขื่อนกว้าง ๑๒๐ เมตร และที่ระดับเก็บกักปกติสูงสุด ๑๘๒ เมตร (รทก.) อ่างเก็บน้ำมีความจุทั้งหมด ๒,๕๕๙ ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละประมาณ ๑,๗๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ทางปีกขวาของตัวเขื่อนเป็นอาคารระบายน้ำล้น มีช่องระบายน้ำ ๔ ช่อง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถระบายน้ำสูงสุดได้ วินาทีละ ๒,๕๐๐ ลูกบาศก์เมตรสำหรับอาคารโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่ทางปีกซ้าย ของตัวเขื่อน ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต ๘,๔๐๐ กิโลวัตต์ จำนวน ๓ เครื่อง รวมกำลังผลิตทั้งสิ้น ๒๕,๒๐๐ กิโลวัตต์
เขื่อนอุบลรัตน์ เริ่มงานก่อสร้างเมื่อปี ๒๕๐๗ และสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาฯ ไปทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๐๙ต่อมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ได้ทำการปรับปรุงเขื่อนอุบลรัตน์ โดยเสริมสันเขื่อนให้สูงขึ้นไปอีก ๓.๑๐ เมตร จากระดับเดิม ๑๘๕ เมตร (รทก.) เป็นที่ระดับ ๑๘๘.๑๐ เมตร (รทก.) ความกว้างสันเขื่อนเท่าเดิม ส่วนฐานเขื่อนด้านท้าย ขยายออกจากเดิม ซึ่งกว้าง ๑๒๐ เมตร เป็น ๑๒๕ เมตร ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๗ และปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยเมื่อต้นปี ๒๕๓๐
ประโยชน์หลังจากการปรับปรุง เขื่อนอุบลรัตน์ จะทำให้เขื่อนมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอุทกภัยสูงขึ้น และยังเสริมความปลอดภัย ให้แก่ตัวเขื่อน ซึ่งจากการยกระดับ ของสันเขื่อน จะไม่มีผล ต่อระดับเก็บกักน้ำ ใช้เพื่อการชลประทาน และผลิตกระแสไฟฟ้าในระดับปกติ ทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัย บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำอีกด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
พระธาตุขามแก่น
พระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ 500 ต่อมาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแพน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม พุทธศตวรรษที่ 5 พระยาหลังเขียว หรือโมริย กษัตริย์เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ในวัดเจติยภูมิ ตำบลบ้านขาม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)